สรุปหนังสือ

คำในวงการที่เรียกคนเลี้ยงไก่ชน
        ในวงการไก่ชนจึงมีคำว่า มือใหม่ มือเก่า มืออาชีพ มือเซียน มาประกอบเช่น
             1. คนพึ่งหัดเลี้ยงไก่ เราเรียกว่า มืดใหม่หัดเลี้ยง หัดเล่น
             2. คนที่เลี้ยงไก่มานานๆแล้ว เราเรียกว่า มือเลี้ยงเก่า มือเก๋า
             3. คนที่รับจ้างให้น้ำไก่มานานๆ เราเรียกว่า มือน้ำอาชีพ
             4. คนที่เล่นพนันไก่ ที่มีความรู้เชี่ยวชาญเราเรียกว่า เซียนไก่ชน
ทำไมคนจึงเข้ามาอยู่ในวงการไก่ชนมากมายเช่นนี้ สาเหตุก็เพราะ
             1. ไก่ชนเป็นสัตว์ที่รูปร่างสวยงาม สีสันที่เป็นเอกลักษณ์
             2. ไก่ชนเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายอยู่ใกล้ชินสนมกับคนได้แบบสุนัขและแมว
             3. ไก่ชนเป็นสัตว์ขันยาม เป็นนาฬิกาปลุกให้คนรู้เวลา
             4. ไก่ชนให้เนื้อและไข่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
             5. ไก่ชนเป็นนักต่อสู้ นักกีฬาตัวยง ในด้านการต่อสู้ แข่งขัน
             6. ไก่ชนเป็นสัตว์เศรษฐกิจของบ้าน จนไปถึง นักธุรกิจ นักการเมือง ดารา ราชการ
             7. ไก่ชนเป็นสินค้าทั้งภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน 
             8. ไก่ชนเป็นสัตว์ที่ผู้เลี้ยงสามารถตั้งราคาเองได้ 
ชื่อหนังสือ : มือใหม่เลี้ยงไก่ชน
ผู้เขียน : อ.พน นิลผึ้ง



วิธีการดูแลไก่ชน
     ตามปกติลักษณะ และบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ไก่ชนตัวใดมีบุคลิกลักษณะดี ไก่ตัวนั้นก็มักจะเก่งเป็นส่วนมาก การดูบุคลิกลักษณะไก่ชนที่เก่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง
     
  1. ใบหน้าเล็ก คางรัด 
  2. หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน) 
  3. ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา) 
  4. นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ) 
  5. สีของขน 
  6. สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง 
  7. ปากใหญ่ยาว 
  8. คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ 
  9. หางยาวแข็ง 
  10. กระดูกหน้าอกใหญ่ ยาว 
  11. แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ 
  12. นิ้วเล็กยาว เล็บยาว 
  13. เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ 
  14. โคนหางใหญ่ 
  15. อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่ 
  16. เส้นขาใหญ่

การดูเกล็ดแข้ง

การดูเกล็ดแข้งก็เหมือนการดูลายมือคน เกล็ดแข้งตามตัวอย่างนี้ มิใช่ว่าไก่ที่มีแข้งแบบนี้แล้วจะไม่แพ้ใคร ลักษณะของการแพ้นั้นมีอยู่หลายวิธี คือ 
  1. ไก่ไม่สมบูรณ์หมายถึง เจ็บป่วยโดยที่เราไม่รู้ เรานำไปชนก็มักจะแพ้
  2. เปรียบเสียเปรียบคู่ต่อสู้ คือเล็กกว่าบ้าง ต่ำกว่าบ้างเป็นเหตุทำให้แพ้ได้
  3. ผิดเชิง ไก่บางตัวชอบตีไก่ตั้ง เวลาชนไปเจอไก่ลงตีไม่ได้ก็แพ้ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นการดูเกล็ดแข้งจึงจำเป็นที่เราจะต้องรู้ไว้บ้าง แข้งตามตัวอย่างนี้เป็นส่วน ประกอบเวลาท่านจะไปหาไก่ถ้ามีเกล็ดแบบนี้แล้ว ท่านทดลองปล้ำดูพอใจแล้วค่อยเอา ถ้าไก่สมบูรณ์ ชนไม่เสียเปรียบ รับรองว่าชนะมากกว่าแพ้ แต่ว่ารู้สึกว่าจะหายากสักหน่อย



ชื่อหนังสือ : ไก่ชน เทคนิคการผสมพันธุ์และการเลี้ยงดู
ผู้เขียน : รศ.ดร.อภิชัย  รัตนวราหะ



การเลี้ยงไก่ชน
             - ไก่ชน 
    นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังได้ทราบกันดีว่าในสมัยพระนเรศวรทรงเล่นชนไก่กับพระมหาอุปราชที่เมืองหงสาวดีจนชนะท้าพนันกินบ้านกินเมืองได้  กีฬาชนไก่เป็นที่นิยมของชายไทยกันมาช้านานไก่ชนนอกจากจะเป็นเกมกีฬาแล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักสู้ของคนไทยประการหนึ่งด้วย และในปัจจุบันเราสามารถส่งไก่ชนไปเป็นสินค้าขาออกไปยังต่างประเทศทำได้ให้แก่ผู้เลี้ยงไก่ชนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ พันธุ์ไก่ชนยังนับได้ว่าเป็นแห่งทางพันธุ์กรรมของไก่พื้นเมืองไทยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการที่อนุรักษ์สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองในบ้านเราไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ อนาคตต่อไปดังนั้นการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์แห่งของพันธุ์กรรมไก่ชนบ้านเรา
             - พันธุ์ไก่ชน
    พันธุ์ไก่ชนนั้นมาจากไก่อู ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองของไทยพันธุ์หนึ่ง โดยไก่ชนนั้นจะเป็นพันธุ์ที่ผ่านการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์กันมาอย่างพิถีพิถันมาก โดยเฉพาะต้องให้มีลักษณะเป็นชาตินักสู้
    อย่างไรก็ตามพันธุ์ไก่ชนที่ดีและผ่านการยอมรับจากนักเลงไก่ชนในบ้านเรานั้น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ดังนี้
           1. เหลืองหางขาว
พระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้
ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ 
  • สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
  • ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย 
  • หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี 
  • ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน 
  • เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง 
  • รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว 
  • อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง 
    หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน 
  • ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร 
  • คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่ 
  • ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น 
  • สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง 
  • สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า 
  • สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น
      2.ประดู่หางดำ
ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ 
  • ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง 
  • ตา ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง 
  • หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย 
  • สร้อยคอ สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น 
  • ขน ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่ 
  • หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น 
  • ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดำ 
  • เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย
    ไก่ประดู่หางดำ ที่สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง รับรองพันธุ์มี 4 ชนิด คือ
    1. ประดู่มะขาม ถ้าสีแก่เรียกมะขามไหม้ ลักษณะขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหาง สีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีประดู่แบบเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลไหม้(แก่) ตาสีไพล ขนปิดหูสีประดู่
    2. ประดู่แสมดำมะขามไหม้ ลักษณะเหมือนประดู่มะขามทุกอย่าง ยกเว้น ปาก แข้ง เล็บ เดือย และตาสีดำ
    3. ประดู่แข้งเขียวตาลาย ลักษณะเหมือนประดู่มะขาม ต่างกันตรงปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลายดำ
    4. ประดู่แดง ลักษณะเหมือนประดู่อื่นทั่วๆไป ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีออกแดง(น้ำตาลแดง) ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีน้ำตาล ตาสีแดง
    มีไก่ประดู่หางดำอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะประจำพันธุ์ไม่แน่นอน พื้นตัวสีดำ ขนหาง ขนปีกสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีประดู่เหมือนทั้ง 4 ตัวดังกล่าว แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีไม่แน่นอน มีสีดำ สีเขียว สีน้ำตาล ปะปนกันอยู่ และตาก็สีไม่แน่นอน มีสีดำ สีสวย สีไพล สีแดงปะปนกันอยู่ ไก่พวกนี้ถือว่าผสมข้ามพันธุ์มาจากประดู่ทั้ง 4 ชนิด ลูกออกมาจึงผิดเพี้ยนไปจากพันธุ์เดิม ในวงการประกวด ไก่ประดู่หางดำทั่วๆไป ก็อนุโลมอยู่ในพวกไก่ประดู่หางดำแต่เลือดไม่ใช่เฉพาะพันธุ์ การตัดสินการประกวดไก่ประดู่หางดำ ต้องใช้อุดมทัศนีย์ไก่ประดู่หางดำมาพิจารณาทั้ง 4 ตัว และอนุโลมตัวที่ 5 เข้าไปด้วย เป็นไก่ประดู่หางดำทั้งหมดทุกตัวเสมอภาคกัน ส่วนใครจะเหนือ ใครชนะใคร อยู่ที่ความสวยงามทั้ง 5 ของไก่ คือ
    1. หน้าตา
    2. สีสัน
    3. รูปร่าง
    4. เกล็ดแข้ง
    5. กิริยาชั้นเชิง
    3. ไก่ชนพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา
เขียวหางดำ หรือ เขียวกา บางแห่งเรียกว่า "เขียวพาลี หรือเขียวไข่กา" เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากทางภาคใต้และตะวันออก มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ 
  • ลักษณะทั่วไปคล้ายๆ กับประดู่หางดำ ปากดำ 
  • หงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม
  • สร้อยปีก สร้อยคอ สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียวคล้ายปีกแมลงภู่ 
  • ขนปีกและลำตัวเขียวหรือเขียวอมดำ หางสีดำ 
  • แข้งดำ เล็บดำ
     4.ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
แหล่งกำเนิด เป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ในภาคอีสาน ขอนแก่น มหาสารคาม ในภาคกลางและภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้นประเภท ไก่ลายหางขาวเป็นสายพันธุ์ไก่ชน ตัวผู้หนัก 3.0 - 4.0 กก. ตัวเมียหนัก 2.5 - 3.0 กก.
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • รูปร่างลักษณะ ไก่พันธุ์ลายหางขาว เพศผู้ ขนพื้นตัวลายตลอดขนปีก ขนหางพัดลายเหมือนขนพื้นตัว ขนหางกะลวยสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีลาย ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง
  • ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีขาวอมเหลือง ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง
  • จมูก แบนราบสีเดียวกับปาก รู้จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี แบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น ลูกตากลางดำ ตารอบนอกสีเหลือง เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
  • หงอน หงอนเล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
  • ตุ้มหู ขนปิดรูหูมีลายเหมือนสร้อย
  • เหนียง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนหงอน
  • กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
  • คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบ
  • ปีก ปีกลาย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังลาย
  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข้ง หนาและตรงชิด
  • หาง หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบ หางพัดลายเหมือนพื้นตัว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายลาย
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาลาย เป็นแข้งรูปลำเทียนหรือลำหวาย สีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
  • นิ้ว เรียวยาว เป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
  • เดือย เดือยตรงแกนใหญ่ ปลายโค้งงอนไปตามก้อย แข็งแรงมั่นคง สีเดียวกับปาก
  • ขน ขนพื้นตัวลาย ขนปีก หางพัดลาย ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายลาย
  • เล็บ มั่นคง สีเดียวกับเกล็ด แข้งและปาก
  • สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีลายแตกต่างกันไปตามเฉดสี
  • กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดี่ยว
   5.ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว
ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว ไก่เทา หรือไก่สีเทา หรือไก่เถ้า มีแหล่งกำเนิดทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก, อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และแถบภาคอีสานจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ไก่เทาเป็นไก่ขนาดกลางน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กก. ตัวเมียประมาณ 2-3 กก.
  • ลำตัว ไก่เทามีลำตัวสองลักษณะ คือ รูปร่างเพรียวบางยาวระหง กับล้ำเตี้ยรูปหัวปลีและเบี้ยจั่น ลำตัวกลม หางยาวทรงฟ่อนข้าวและทรงหางม้า
  • ใบหน้า กลมกลึง หน้าแบบหน้านก หน้ากา
  • ปาก ปากใหญ่ยาว ปลายปากงุ้ม มีร่องน้ำลึกทั้งสองข้าง ปากสีขาวอมเหลืองรับกับสีแข้ง เล็บ เดือย
  • จมูก รูจมูกโปร่งกว้าง สันจมูกเรียบติดกับปากสีเดียวกับปาก
  • ตา สีตาขาวอมเหลือง มีเส้นเลือดในตาขาวเด่นชัด ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ดวงตาแจ่มใส
  • หงอน เป็นหงอนหินหรือหงอนสามแฉก หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง กอดรัดกระหม่อม
  • หู ตุ้มหูรัดตรึง ไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย
  • เหนียง เหนียงรัดตรึงติดกับคาง ไม่มีแปะหย่อนยาน สีเดียวกับหงอน
  • กะโหลก ยาว2ตอน ตอนหน้าเรียวยาวเล็กว่าท่อนหลัง มีรอยไขหัวกลางกะโหลก
  • คอ คอยาวรูปเคียว ปล้องคอชิดแน่น สร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ สีเดียวกับสร้อยหลังยาวไปต่อกับสร้อยหลังพอดี
  • ปีก ปีกใหญ่และยาว เป็นปีกลอนเดียวไม่ห่างไม่โหว่ ปีกสีเทาเหมือนขนพื้นตัว สร้อยหัวปีกสีเดียว กับสร้อยคอและสร้อยหลัง
  • ตะเกียบ ชิดตรง
  • หาง หางพัดยาวเรียบเป็นระเบียบสีเทาเดียวกับขนพื้นตัวหรือหางกระรวยสีขาวปนเทา หางทรง ฟ่อนข้าว พลูจีบ หรือหางม้า ขั้วหางใหญ่มีกระปุกน้ำมันใหญ่และอันเดียว
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ กลมกลึง แข้งเรียวกลมกลึงแบบลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก ขนปั้นขาสีเทา
  • เกล็ด เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองรับกับสีปาก เกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบแถว จระเข้ขบฟันหรือปัด ตลอดจะมีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ ไชบาดาล และอื่นๆ
  • นิ้ว เรียวยาว ปุ่มนิ้วมีตัวปลิง เกล็ดนิ้วมีแตกมีแซม เล็บนิ้วจะสีเดียวกับนิ้วหรือปาก หรือแข้ง
  • เดือย เดือยแหลมคมแบบเดือยงาช้าง ฐานเดือยมั่นคง
  • ขน ขนพื้นตัวสีเทาตามพันธุ์ ขนปีกขนหางพัดสีเทา ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสี เดียวกันตามพันธุ์ เช่น ดำ ประดู่ ขี้เถ้า ทองแดง หรือเหลืองทอง
  • กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่สง่างามอีกพันธุ์หนึ่ง ยืนเดินทะมัดทะแมง ยืนตัวตรงเล่นสร้อยกระพือปีกตลอดเวลา มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
    ชื่อหนังสือ : อุดมทัศนีย์ไก่ชนไทย สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น